วันจันทร์ที่ 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

การประชุมสัมมนาพัฒนาเลขานุการศูนย์แม่ข่ายจังหวัด
ณ  โรงแรมแอมบาสซาเดอร์  ซิตี้จอมเทียน  พัทยา
************************************






วันพฤหัสบดีที่ 4 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

งาน “Smart Symphonies ดนตรีกับการพัฒนาสมอง”


"นกกาเหว่าเอ้ย...ไข่ไว้ให้แม่กาฟัก...แม่กาก็หลงรัก..." ใครจะคาดคิดว่าเพลงกล่อมเด็กโบราณ เชยๆ แบบนี้ จะแสดงถึงสัญชาตญาณความเป็นแม่ที่แสดงความรักความผูกพันผ่านเสียงเพลง ช่วยพัฒนาการทักษะต่างๆ โดยเฉพาะสมอง
และนิตยสารบันทึกคุณแม่ จึงจัดงาน “Smart Symphonies ดนตรีกับการพัฒนาสมองนำเสนองานวิจัยล่าสุดว่าพันธุกรรมไม่ใช่คำตอบเดียวในการสร้างการพัฒนาแก่เด็ก ทว่าสิ่งแวดล้อมและการดูแลที่ดีต่างหากเป็นองค์ประกอบที่สำคัญที่สุด ไม่ว่าจะเป็นอาหารที่จำเป็นต่อการสร้างเซลล์สมอง การส่งเสริมทางด้านภาษา นอกจากนี้ดนตรีก็เป็นอีกสิ่งหนึ่งที่กระตุ้นให้ลูกน้อยตื่นตัว และพร้อมที่จะเรียนรู้สิ่งต่างๆ ที่เกิดขึ้นอีกด้วย
แพทย์หญิงจันทร์เพ็ญ ชูประภาวรรณ นายกสมาคมนักวิจัยไทยเพื่อการพัฒนาเด็กและครอบครัว (สวทด.) บอกว่า เสียงดนตรีแรกของลูกนั้นคือเสียงหัวใจของแม่ โดยปกติแล้วเสียงหัวใจเต้นสม่ำเสมอ แต่จะเร็วขึ้นเมื่อออกกำลังกายหรือมีความตื่นเต้น ทำให้ท่วงทำนองของการเต้นเปลี่ยนไป ฉะนั้นการรับรู้เสียงดนตรีของลูกเกิดขึ้นตั้งแต่อยู่ในท้อง
ขณะที่แม่พูด ฟังเพลง ร้องเพลง ลูกจะได้รับคลื่นเสียงผ่านประสาทสัมผัสผิวหนังไปยังลูกได้ ดังนั้นเพลง หรือดนตรีที่แม่เลือกฟังขณะตั้งท้องควรมีจังหวะเบาๆ ฟังแล้วรู้สึกผ่อนคลาย และช่วยกระตุ้นการเรียนรู้ของลูก ขณะที่แม่ตั้งท้องไม่ควรฟังเพลงที่มีจังหวะแรงๆ อย่างเพลงแร็พ ฮิพฮอพ และเสียงเบส เสียงกลองที่มีจังหวะดังมากๆ จะกระทบกระเทือนไปถึงลูกได้
งานวิจัยชี้ว่า ดนตรีมีส่วนช่วยในการพัฒนาสมองของเด็ก รู้จักคิดอย่างมีเหตุผล ทั้งในด้านภาษา การคำนวณ ศิลปะ และทางด้านวิทยาศาสตร์ โดยเฉพาะดนตรีคลาสสิก มีจังหวะและท่วงทำนองที่ช่วยให้สมองของเด็กให้มีการพัฒนาอย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะในช่วงแรกเกิดถึงสามปี ทำให้เด็กเกิดการเรียนรู้ ช่วยพัฒนาทางด้างอารมณ์ จิตใจ สติปัญญา ตลอดจนความคิดสร้างสรรค์ ซึ่งสามารถช่วยให้เด็กง่ายแก่การเรียนรู้และจดจำในสิ่งที่คุณพ่อคุณแม่สอน
นอกจากนี้ยังช่วยกระตุ้นการทำงานของสมองในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการวิเคราะห์อย่างมีเหตุผล ซึ่งเป็นพื้นฐานทางด้านคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ และการอ่านเขียน เพลงคลาสสิกแล้ว เพลงแจ๊ซ เพลงบรรเลงที่มีจังหวะเบาๆ และเพลงกล่อมเด็ก สามารถฟังได้ แต่ถ้าจะให้ดีที่สุดลูกควรได้รับเสียงเพลงจากการร้องของคุณแม่ เช่นเพลงกล่อมลูก เพราะการที่คุณแม่ร้องเพลงกล่อมลูกยังช่วยเพิ่มความรักความผูกพันระหว่างแม่ลูกได้เป็นอย่างดี
เจี๊ยบ-วรรธนา วีรยวรรธน ศิลปินชื่อดัง บอกว่า เธอคลุกคลีอยู่กับดนตรีตลอดเวลาขณะตั้งท้อง ลูกจึงสัมผัสกับเสียงดนตรีตั้งแต่อยู่ในท้อง จึงเชื่อว่าดนตรีนั้นมีส่วนช่วยในการพัฒนา ซึ่งพัฒนาที่เห็นได้ชัดนั้นคือน้องเข้าใจเพลงเร็ว จับจังหวะได้ดี ร้องเพลงไม่เพี้ยน สามารถพูดโต้ตอบกับผู้ใหญ่ได้ในประโยคยาวๆ รู้เรื่องและชัดเจน


เช่นเดียวกับ กรกนก เชาว์ปรีชา คุณแม่มือใหม่ น้องตฤณ นันทิวาวัฒน์ อายุ 4 เดือน บอกว่าช่วง 6 ขวบแรกเป็นเวลาที่เด็กควรได้รับการเรียนรู้โดยตรงจากคุณพ่อคุณแม่ ไม่ควรได้รับการเรียนรู้จากทีวี ซีดี หากพ่อแม่สามารถเป็นเครื่องดนตรีให้แก่ลูก จะทำให้ได้ทั้งความผูกพันและการพัฒนาด้วย ฉะนั้นการเรียนรู้ทุกอย่างของเด็กอยู่ในมือคุณพ่อคุณแม่ อย่าไปฝากความหวังไว้กับครูหรือคอมพิวเตอร์ เพราะครูมีหน้าที่ในการต่อยอด ส่วนคุณพ่อคุณแม่มีหน้าที่สอนเบสิกพื้นฐานทุกอย่าง


"เวลาอยู่ที่บ้านคุณพ่อคุณแม่ร้องเพลงให้ลูกฟัง เสียงที่คุณพ่อคุณแม่นี่แหละที่ลูกชอบที่สุด อันนี้เป็นวิธีการสร้างเสริมเรื่องความคิดสร้างสรรค์ ฉะนั้น ดนตรีดีกว่าการดูทีวีหรือเล่นคอมพิวเตอร์ แม้ว่าคุณแม่จะเสียงไม่ดี เล่านิทานได้ไม่เหมือนมืออาชีพก็ไม่เป็นไร เพราะลูกต้องการเสียงแม่ และเสียงแม่คือพรที่ดีที่สุดของลูก ที่จะช่วยส่งเสริมให้ลูกคุณเติบโตขึ้นมาอย่างมีคุณภาพ"